บทความของเรา

นักวางแผนการเงิน cfp

CFP ผู้ช่วยสำคัญในการวางแผนการเงิน พาคุณสู่อนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน

CFP คืออะไร ย่อมาจากอะไร หลายๆ คนอาจเคยได้ยินคำว่า CFP กันมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่ทราบความหมายที่แท้จริงกัน วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังครับ ที่จริงแล้ว CFP ย่อมาจาก Certified Financial Planner ซึ่งเป็นคำรับรองมาตรฐานวิชาชีพการวางแผนการเงินในระดับสากลครับ โดย CFP จะต้องผ่านการอบรมและทดสอบความรู้ความสามารถในด้านการวางแผนการเงินอย่างครบถ้วน ทั้งในด้านการลงทุน ภาษี ประกันภัย การวางแผนเกษียณ และการจัดการมรดก เพื่อให้สามารถให้คำแนะนำทางการเงินแก่ลูกค้าได้อย่างมืออาชีพและเป็นประโยชน์สูงสุด ซึ่งนักวางแผนการเงิน CFP จะต้องผ่านการสอบและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ 4E ได้แก่ การอบรม (Education), การสอบ (Examination), ประสบการณ์การทำงาน (Experience) และการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ (Ethics) ครับ CFP ในไทยมีกี่คน และมีความสำคัญอย่างไร อ้างอิงจากสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ณ สิ้นปี 2566 ประเทศไทยมีนักวางแผนการเงิน CFP ทั้งหมด 593 คน ซึ่งถือว่าไม่ได้มีจำนวนมากเลยหากเทียบกับประชากรในไทยที่มีกว่า 60 ล้านคน เนื่องจากการจะได้รับคุณวุฒิ […]
อ่านต่อ

เทคนิคขั้นต้นสำหรับการวางแผนการเงินของอาชีพ แพทย์ และทันตแพทย์

อาชีพอื่นๆก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ได้เช่นเดียวกัน แต่ก็จะมีความแตกต่างเล็กน้อยในรายละเอียดและรูปแบบการใช้ชีวิต
อ่านต่อ

รู้หรือไม่? ปัจจุบันมีประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายที่คุ้มครองแบบครอบคลุมยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ประกันสุขภาพเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง เป็นการใช้เงินก้อนเล็กเพื่อปกป้องเงินก้อนใหญ่ที่เราเตรียมไว้สำหรับเป้าหมายด้านอื่นๆในชีวิต และทำให้เราได้รับการรักษาที่ดีที่สุดในวันที่เจ็บป่วยโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ประกันสุขภาพ ? ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองด้านค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาล โดยจะจ่ายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่สูงสุดไม่เกินจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ ประเภทความคุ้มครอง ? 1.ค่ารักษาพยาบาลและศัลยกรรม โดยมากจะมีวงเงินค่ารักษาพยาบาลในหมวดต่างๆ 2.ค่าชดเชยรายได้หรือชดเชยวันนอนรายวัน โดยจะจ่ายชดเชยตามจำนวนคืนที่นอน 3.กรณีพบโรคร้ายแรง หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง ตามรายการของโรคที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ จะได้รับเงินชดเชยตามจำนวนเงินเอาประกันที่ได้ซื้อไว้ 4.อุบัติเหตุ เงินชดเชยเพิ่มเติมในกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพ อันเนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุ เหตุผลที่ควรทำประกันสุขภาพ อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน เป็นหลักประกันให้กับชีวิต ช่วยลดภาระทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เหมาะกับใคร ? ผู้ประกอบอาชีพอิสระ/Freelance ผู้ประกอบการอิสระที่ไม่มีหลักประกัน เมื่อเจ็บป่วยขึ้นมาจำเป็นต้องควักเงินจ่ายเอง ผู้ที่วางแผนเพื่อการเกษียณ เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายเริ่มเสื่อมขึ้นตามวัย ทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมา ผู้ที่ต้องการความมั่นคงด้านสุขภาพ ปัจจุบันโรคภัย ไข้เจ็บเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งการเจ็บป่วยนำมาซึ่งภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการดูแลรักษา ผู้ที่ต้องการวางแผนให้ลูก เด็กมักเจ็บป่วยบ่อย และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของเด็กมีจำนวนที่สูง #MACG#CFP#FinancialPlanning#taxplanning#Insurance#investment
อ่านต่อ

“สร้างวินัยในการลงทุนผ่านกลยุทธ์ DCA”…เคล็ดลับพิชิตความสำเร็จใน ‘การวางแผนการเงิน’

Wealth EZ: ปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่เริ่มให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินมากขึ้นเรื่อยๆ โดยหากพิจารณาถึงกระบวนการที่จะสร้างแผนการเงินให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้นั้น หนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก็คือ “การลงทุน” ยิ่งไปกว่านั้นคำหนึ่งคำที่เชื่อว่านักลงทุนทั้งมือใหม่หรือมือเก๋า พอร์ตใหญ่เบิ้มหรือพอร์ตเริ่มต้น ควรให้ความสำคัญก็คือ “วินัย” ในการลงทุน บทความนี้ผู้เขียนจะลงรายละเอียดถึงเทคนิคการสร้างวินัยการลงทุนสำหรับกรณีนักลงทุนที่มีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ “จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสให้คำปรึกษาลูกค้าใน ‘การวางแผนการเงิน’ สำหรับกลุ่มที่มีรายได้เข้ามาอย่างแน่นอนต่อเนื่อง เช่น มนุษย์เงินเดือน ผู้บริหารองค์กร หรือเจ้าของกิจการที่มีกำไรสม่ำเสมอ สิ่งที่มีความคล้ายคลึงกันของนักลงทุนกลุ่มนี้ คือ มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงาน ไม่มีเวลาในการเฝ้าศึกษาตลาด หลายท่านอาจจะกลัวความเสี่ยงมากเกินไป กล่าวคือ ช่วงตลาดขาลงก็ไม่กล้าลงทุนกลัวหุ้นลงต่อ ช่วงตลาดขาขึ้นก็กลัวซื้อของแพง มัวแต่จดๆ จ้องๆ จนไม่ได้เริ่มลงทุนเสียที ในทางกลับกันบางท่านกล้าได้กล้าเสียอยากลงทุนมาก แต่กลับหวั่นไหวกับราคาหุ้น พอราคาขาดทุนก็รีบขายหุ้นทิ้ง พอเวลาผ่านไปเห็นเพื่อนๆ ทำกำไรจากการลงทุนได้ก็กลับเข้ามาลงทุนใหม่ เข้าออกๆ จนไม่สามารถลงทุนอย่างต่อเนื่องได้ ปัญหาเหล่านี้ เราสามารถใช้กลยุทธ์การลงทุนที่ชื่อว่า ‘DCA’ ช่วยตอบโจทย์นักลงทุนกลุ่มนี้ได้ครับ” “เทคนิคการลงทุนแบบ DCA (Dollar Cost Averaging)” เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่จะลงทุนถัวเฉลี่ยเป็นงวดๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยความถี่ในการลงทุนอาจจะเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปีในสินทรัพย์ที่เลือกไว้ โดยจะลงเงินเป็นจำนวนเท่าๆ กันทุกครั้งโดยไม่สนใจว่าราคาสินทรัพย์จะเป็นเท่าใดในขณะนั้น ทำให้ในภาพรวมราคาสินทรัพย์ที่เราได้จะเป็นราคาที่ถัวเฉลี่ยกันไปตลอดทุกช่วงเวลาทั้งพอร์ตการลงทุน ทั้งนี้เคล็ดลับความสำเร็จในการ […]
อ่านต่อ

ทำไมต้อง “Asset Allocation” ?

ปัจจุบัน หนึ่งใน “New Normal” ที่เกิดหลังการอุบัติขึ้นของการแพร่ระบาดCOVID-19 คือ จำนวนนักลงทุนรายใหม่ๆที่แห่เข้ามาเปิดบัญชีซื้อขายลงทุนเป็นจำนวนมากในสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีซื้อขายหุ้น บัญชีซื้อขายกองทุนรวม อีกทั้งยังมีสินทรัพย์ทางเลือกใหม่ๆ อย่างคริปโตเคอเรนซีที่กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง โดยนักลงทุน ‘หน้าใหม่’หรือ ‘มือเก๋า’ จะมีกลยุทธ์การลงทุนที่แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ความถนัดหรือระดับความคาดหวังผลตอบแทนและการยอมรับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล แต่ผู้เขียนอยากจะเน้นย้ำถึงความสำคัญของแนวคิดการลงทุนที่เชื่อว่าทุกท่านคุ้นหูกันเป็นอย่างดี นั่นก็คือ “Asset Allocation”
อ่านต่อ
crossmenuchevron-down